Home

landing_cover
Article
มิติใหม่แห่งนโยบายสาธารณะ ฟังเสียง 'ประชาชน' เพื่อสร้างนโยบาย

ยิ่งเวลาเดินหน้ามาไกล โลกก็ยิ่งเจอความท้าทายที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี การสั่นสะเทือนของภูมิรัฐศาสตร์โลก หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หลายประเทศกำลังมองหาแนวทางวิธีการออกแบบนโยบายใหม่ๆ ซึ่งหนึ่งในแนวทางคือ "ห้องปฏิบัติการนโยบาย" (Policy Lab)

landing_cover
Data Visualization
ส่องโซเชียลดูความในใจคนรุ่นใหม่ เป็นทุกข์อย่างไรในยุคโควิด-19

Data Visualization รวบรวมข้อมูลจากการกวาดความคิดเห็นของคนบนโลกออนไลน์ (Social Listening) เกี่ยวกับสุขภาพจิตเยาวชน มากกว่า 100,000 ข้อความ และ 10 ล้าน Social Media Engagement

previous arrow
next arrow

Knowledge

Explore articles, infographics and videos on public policy

Vocab of The Week

Introduce Policy Vocabularies
Vocabs of The Week

Leverage Point

หมายถึง จุดงัดคาน ซึ่งคือจุดใดจุดหนึ่งในระบบที่ซับซ้อน ที่เป็นจุดตั้งต้นให้เราใช้มาตรการแทรกแซงเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับต่างๆได้ อาจเป็นประเด็นหรือองค์กร เช่น อาทิ องค์กรมหาชน อุตสาหกรรม หรือรัฐสภา ในระบบเหล่านี้ ผู้เล่นและประเด็นต่างๆ ล้วนคาบเกี่ยวกัน การวิเคราะห์ปัจจัยขับเคลื่อนระบบต่างๆ อาทิ กระแสการเปลี่ยนแปลง ความเชื่อ สมมติฐาน จะช่วยให้นักนโยบายพบจุดงัดคานมากมายที่กระจายตัวอยู่ตามปัจจัยต่างๆ

ตัวอย่าง

การเลี้ยงลูกด้วยการดุด่าว่ากล่าวส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพจิตของเด็ก เพื่อท้าทายสมมติฐานเกี่ยวกับคุณค่าครอบครัว เราอาจใช้วิธีกระจายความรู้เกี่ยวกับการรักลูกในแบบที่ปลอดภัยมากขึ้น และพยายามเอาตราบาปออกจากบทสนทาเกี่ยวกับสุขภาพจิต ในขณะเดียวกันเอง วิธีการที่จับต้องได้มากขึ้นอาจจะเป็นการพัฒนาระบบสาธารณสุข โดยช่วยให้คนเข้าถึงการบำบัดและให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงดูบุตรมากขึ้น

Vocabs of The Week

Myth

มายาคติ หมายถึง สิ่งที่สังคมเชื่อว่าเป็นจริง ข้อสันนิษฐานเหล่านั้นเกิดขึ้นจากความเชื่อและคุณค่าทางสังคมในยุคสมัยใดสมัยหนึ่ง ส่งผลต่อความเข้าใจโลกของเราโดยตรง กล่าวได้ว่า เราไม่ได้มองโลกในแบบที่มันเป็น แต่มองโลกผ่านเลนส์ที่สังคมส่งต่อมาให้เราแล้ว

ตัวอย่าง

หนึ่งในความเชื่อที่ทรงพลังมากที่สุด คือ “เลือดข้นกว่าน้ำ” หรือ “ครอบครัวที่ให้กำเนิดสำคัญกับเรามากที่สุด” สังคมมักมองว่าโครงสร้างครอบครัวแบบพ่อ-แม่-ลูกคือสายสัมพันธ์ที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง ฉะนั้นคนในครอบครัวจึงรับผิดชอบต่อกันและกันมากที่สุด สิ่งนี้สะท้อนอยู่ในนโยบายต่างๆ เช่น การลาด้วยกิจอันจำเป็นเกี่ยวกับครอบครัว อย่างไรก็ตาม ผู้คนจำนวนมากไม่อาจใกล้ชิดกับครอบครัวที่ให้กำเนิดได้ เช่น คนที่โดนพ่อแม่กระทำรุนแรง นอกจากนี้แล้ว ปัจจุบันคำว่าครอบครัวเองยังไปไกลกว่าครอบครัวที่ผูกพันทางสายเลือด หรือตามที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อหารือเรื่องนโยบายดูแลประชาชนหรือประชากร นักนโยบายจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์และโครงสร้างครอบครัวรูปแบบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

Vocabs of The Week

Metaphor

อุปมาอุปไมย หมายถึงการเปรียบเทียบหรือ
เปรียบเปรยเหตุการณ์กับปรากฏการณ์อื่นๆ
เพื่อช่วยให้ผู้รู้สึกเข้าใจ เห็นภาพ หรือรู้สึกเชื่อมโยงมากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้ในกระบวนการออกแบบนโยบาย เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจปัญหาลึกซึ้งมากขึ้น

ตัวอย่าง

อุปมาอุปไมยคือหนึ่งในวิธีที่มนุษย์ใช้ทำความเข้าใจโลก เช่น การเปรียบว่า ”โลกนี้คือละคร” สำหรับนักนโยบาย การเข้าใจอุปมาอุปไมยในนโยบายต่างๆ ในอดีต จะช่วยให้เราเข้าใจว่าผู้ผลิตสารนั้นๆ กำลังรู้สึกอย่างไรกับประเด็นต่างๆ เช่น ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดไปทั่วโลก มีการอธิบายวิธีควบคุมการแพร่ระบาดว่าเป็นการทำ “สงครามกับโรคระบาด” แนวคิดนี้สะท้อนว่าโรคเป็นศัตรู จำเป็นต้องอาศัยมาตรการเด็ดขาดเพื่อช่วยให้ชาติพ้นภัย นักนโยบายจึงจำต้องเข้าใจว่าภาษากำลังถ่ายทอดจินตนาการเชิงนโยบายอย่างไร และมันอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบอะไรตามมา

หรือในกระบวนการออกแบบนโยบาย เราใช้เครื่องมืออย่าง ‘ภูเขาน้ำแข็ง’ ในการขุดรากสาเหตุของปัญหา ซึ่งภูเขาน้ำแข็งเป็นการอุปมาอุปไทยกับปัญหาที่มีสาเหตุที่มองไม่เห็น ซึ่งการใช้ภูเขาน้ำแข็งมาเปรียบเปรยได้ทำให้ผู้ออกแบบนโยบายขุดสาเหตุของปัญหาได้ลึกมากขึ้น

Vocabs of The Week

Narrative

หมายถึง เรื่องเล่า การถ่ายทอดความคิด ประสบการณ์ หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น

นักนโยบายหรือทุกอาชีพสามารถใช้เรื่องเล่าเพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายสนใจนโยบาย สินค้า หรือบริการต่างๆ ได้มากขึ้น เราอาจเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร ด้วยการเลือกแง่มุมที่สำคัญมาใช้ หรือคัดข้อมูลสถิติต่างๆ มาเสริมความน่าเชื่อถือของนโยบายหรือบริการของเรา

ตัวอย่าง

การท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนควรดึงเรื่องราวของชุมชนออกมาเพื่อสร้างมูลค่าและความน่าดึงดูดให้กับนักท่องเที่ยวมากขึ้น

งานของเรา
สำรวจการนำนวัตกรรมมาออกแบบนโยบาย
คลังความรู้
เรียนรู้ด้านนโยบายสาธารณะ
ร่วมกับเรา
ออกแบบนโยบายกับเรา
Back to Top