



ยิ่งเวลาเดินหน้ามาไกล โลกก็ยิ่งเจอความท้าทายที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี การสั่นสะเทือนของภูมิรัฐศาสตร์โลก หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หลายประเทศกำลังมองหาแนวทางวิธีการออกแบบนโยบายใหม่ๆ ซึ่งหนึ่งในแนวทางคือ "ห้องปฏิบัติการนโยบาย" (Policy Lab)

Data Visualization รวบรวมข้อมูลจากการกวาดความคิดเห็นของคนบนโลกออนไลน์ (Social Listening) เกี่ยวกับสุขภาพจิตเยาวชน มากกว่า 100,000 ข้อความ และ 10 ล้าน Social Media Engagement
Online
Courses
คอร์สออนไลน์
แพลตฟอร์มส่งต่อและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรม เชิงนโยบายกับนักออกแบบนโยบายระดับประเทศและนานาชาติ รวมถึงสาธารณชนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ
Participate
Events
ร่วมกิจกรรม
กิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้าน
นวัตกรรมนโยบายให้กับประเทศไทย
Upcoming
Vocab of The Week
แนะนำคำศัพท์ด้านนโยบาย
Bright Spot
การศึกษาจุดเด่นท่ามกลางสถานการณ์ยากลำบากจะทำให้เราทราบว่า ทำไมเขา/หน่วยงานนั้นจึงทำงานได้มีประสิทธิภาพ และปัจจัยอะไรจะทำให้ความสำเร็จนั้นยั่งยืนต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ในการเปลี่ยนเมืองให้เป็น “เมืองอัจฉริยะ” (smart city) แต่ละเมืองมีประสบการณ์กับเทคโนโลยีที่ต่างกันไป บทเรียนจากเมืองที่มีประสบการณ์ที่ดี (Bright Spot) จะช่วยให้นักนโยบายสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของเมืองอื่นๆ ได้
ตัวอย่าง
“Bright spot” หรือจุดเด่น หมายถึง หน่วยงานหรือบุคคลที่ทำงานได้ประสบความสำเร็จ แม้จะอยู่ภายใต้สภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย
Dynamics
พลวัต (dynamics) หมายถึงการไม่ยอมหยุดนิ่งอยู่กับที่ ในบริบทนโยบายสาธารณะ คำนี้อธิบายปรากฎการณ์การออกแบบและตัดสินใจเชิงนโยบายที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและผู้เล่นทั้งในและนอกระบบ
ตัวอย่าง
ในการออกแบบนโยบายนั้น ต้องมีการระบุทั้งปัญหา เป้าหมาย เครื่องมือทำงาน วิธีการหารือและเลือกนโยบาย อำนาจในการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย และองค์กรสถาบันที่เกี่ยวข้อง แม้สิ่งเหล่านี้อาจจะถูกกำหนดเอาไว้แต่แรกแล้ว แต่ก็อาจมีเหตุจำเป็นให้ต้องกลับไปทบทวนอยู่เสมอ เช่น หลักจากศึกษาวิธีแก้ไขปัญหาแล้ว นักนโยบายอาจพบว่าตนให้นิยามกับปัญหาที่แคบ/กว้างเกินไป หรือถูกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทักท้วงให้ระบุปัญหาใหม่ การออกแบบนโยบายจึงจำต้องมีความยืดหยุ่น และสามารถปรับตัวตามสถานการณ์ได้
Decolonization of development
คือการพัฒนาโดย ‘ละทิ้ง’ มรดกทางความคิดของประเทศเจ้าอาณานิคม ที่มองว่าประเทศตะวันตก-อุตสาหกรรมคือต้นแบบแห่งความก้าวหน้า ที่ประเทศอื่นๆ ต้องรอให้ประเทศเจ้าอาณานิคมเข้าไปช่วย เพื่อไปไกลกว่าการพัฒนาแบบเดิมๆ เราจำเป็นต้องรื้อถอนตรรกะนี้ และทบทวนวิธีที่เรามอง “กลุ่มเป้าหมายรอการพัฒนา” และมองหาองค์ความรู้อื่นๆ ที่เหมาะกับบริบทสังคมนั้นๆ
ตัวอย่าง
การจัดการสิ่งแวดล้อมมีทั้งแบบที่เป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และภูมิปัญญาของคนท้องถิ่น ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ไม่ได้ลบล้างกันเสมอไป เราอาจย้อนกลับมาดูว่า ผู้คนและทรัพยากรต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างไร สิ่งที่เราทำมีประสิทธิภาพอย่างไรบ้าง จากนั้นจึงร่วมทำงานกับคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มนักวิชาการที่เราคุ้นเคย เช่น กลุ่มคนพื้นเมือง
Sustainability
หมายถึง ความยั่งยืน หรือการลงมือทำสิ่งต่างๆ ที่คำนึงถึงความต้องการและประโยชน์ทางเศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อมในระยะยาวที่ส่งผลต่อคนรุ่นหลัง
ตัวอย่าง
การท่องเที่ยวคือหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดของไทย แต่การท่องเที่ยวก็ส่งผลกระทบเชิงลบต่อชุมชนต่างๆ เช่นกัน เราจึงจำเป็นต้องสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพมากขึ้น เช่น กา ท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน ที่ไม่เพียงแต่ชุมชนจะมีสิทธิจัดการพื้นที่ของตัวเองเต็มที่ แต่ชุมชนยังมีช่องทางหารายได้เพิ่มเติมด้วย ซึ่งสิ่งนี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชุมชนที่พึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ชุมชนประมง การท่องเที่ยวลักษณะนี้ยังช่วยให้ชุมชนมีรายได้โดยไม่ต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตจากธรรมชาติตลอดเวลา ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีเวลาฟื้นฟู และชุมชนสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน