บทความ / นวัตกรรมเชิงนโยบาย, เยาวชน
Published: 22.11.2022

Thailand Policy Lab ออกแบบนโยบายสุขภาพจิตเพื่อเยาวชนโดยเยาวชนผ่านกระบวนการแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Policymaking) โดยผ่านการทำแบบสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 1,000 ตัวอย่างเพื่อสอบถามเยาวชนว่าประเด็นปัญหาอะไรที่เยาวชนมองว่าเร่งด่วนและสำคัญที่สุด ซึ่งพบว่าสุขภาพจิตคือหนึ่งในปัญหาที่เยาวชนไทยมองว่าเร่งด่วนและสำคัญ จากนั้นได้ขุดเชิงลึกในประเด็นสุขภาพจิตต่อผ่านการฟังเสียงสังคมออนไลน์ (Social Listening) หรือการกวาดจับคีย์เวิร์ดบนโลกอินเทอร์เน็ตมากกว่า 100,000 คำ และมากกว่า 10 ล้าน Social Media Engagement (ไลก์ แชร์ คอมเมนท์) เพื่อสำรวจว่าเยาวชนมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรบ้าง โดยพบว่าปัญหาสุขภาพจิตของเยาวชนไทยเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาและการศึกษาออนไลน์อย่างมีนัยยะสำคัญ

จากนั้นเราได้นำข้อมูลทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างมาเข้าสู่กระบวนการแฮ็กกาธอน (Hackathon) หรือการระดมสมองเพื่อออกแบบนโยบายร่วมกับเยาวชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผ่านโจทย์สุขภาพจิตเยาวชนใน 4 มิติคือ 1. Protection (การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต) 2. Prevention (การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต) 3. Promotion (การสื่อสารเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต) 4. Future of Learning (อนาคตของระบบการศึกษาที่ใส่ใจสุขภาพจิตผู้เรียน) ซึ่งจากกระบวนการแฮ็กกาธอน เราได้ข้อเสนอเชิงนโยบายมา 7 ข้อ

 

 

ข้อเสนอเชิงนโยบายใน 4 มิติจากกลุ่มเยาวชน

Protection – การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต

 

 

Prevention – การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

 

 

Promotion – การสื่อสารเกี่ยวกับสุขภาพจิต

 

Future of Learning –  อนาคตของการศึกษาที่ใส่ใจสุขภาพจิตผู้เรียน

 

 

งานของเรา
สำรวจการนำนวัตกรรมมาออกแบบนโยบาย
คลังความรู้
เรียนรู้ด้านนโยบายสาธารณะ
ร่วมกับเรา
ออกแบบนโยบายกับเรา
Back to Top