บทความ / นวัตกรรมเชิงนโยบาย
Published: 16.12.2021

ในงาน Policy Innovation Exchange เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา Joshua Polchar นักสังเกตการณ์จาก Observatory of Public Sector Innovation (OPSI), OECD ได้พูดถึงความสำคัญในการใช้การมองการณ์ไกลเชิงกลยุทธ์ (Foresight) กับการออกแบบนโยบาย เพื่อเตรียมพร้อมกับโลกอนาคต

Joshua ในฐานะนักสังเกตการณ์พูดถึงองค์ประกอบ 4 ประการในการออกแบบนโยบายโดยการใช้การมองการณ์ไกล (Foresight)

  1. การทดสอบนโยบายในสถานการณ์ต่างๆ
  2. การพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า ที่ช่วยเตือนผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
  3. การสำรวจแนวทางการแก้ไขใหม่ๆ
  4. การสร้างเป้าหมายร่วมกัน

การมองการณ์ไกล (Foresight) เป็นสิ่งสำคัญ แต่จะนำมาใช้กับการออกแบบนโยบายอย่างไร?

 ความท้าทายของการใช้กลยุทธ์การมองการณ์ไกลคือ การนำความรู้ที่มีไปก่อให้เกิฃฃดการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายได้จริง ให้กลายเป็นนโยบาย ข้อบังคับ หรือกฎหมาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ดังนั้นการสร้างเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงสำคัญ

OPSI ตระหนักถึงความท้าทายนี้ จึงได้พยายามให้การมองการณ์ไกลเป็นสิ่งที่จับต้องได้ง่ายมากขึ้น โดยแบ่งออกเป็นหลักเกณฑ์ 3 ประการ

  1. การคาดหมาย

การสร้างความรู้เกี่ยวกับอนาคต โดยประเมินจากปัจจัยต่างๆ เช่น ค่านิยม โลกทัศน์ สมมติฐาน และพัฒนาการต่าง ๆ 

  1. นวัตกรรมที่คาดการณ์ล่วงหน้า

การสร้างนวัตกรรมที่ช่วยในการคาดการณ์อนาคต ที่สร้างแรงกระเพื่อมกับสาธารณะ

  1. ระบบการจัดการที่เอื้อต่อนวัตกรรม

การวางระบบการจัดการและกลไกที่ส่งเสริมนวัตกรรมที่ช่วยในการคาดการณ์อนาคต ควบคู่ไปกับนวัตกรรมประเภทอื่นๆ

หลายครั้งที่การใช้กลยุทธ์การมองการณ์ไกลทำให้เกิดคำถามว่า แนวทางแบบนี้จะเอื้อต่ออนาคต มากกว่าที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือไม่ ซึ่ง Joshua ได้ระบุว่า อนาคตของมนุษยชาตินั้นเป็นส่วนหนึ่งของปัจจุบันอยู่แล้ว

การคาดหมายอนาคตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต 

กิจกรรมของมนุษย์ส่งผลต่ออนาคต ซึ่งหมายความว่าการกระทำให้วันนี้สามารถป้องกันความเสียหายในอนาคตได้ เช่น การฉีดวัคซีน ที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และลดความรุนแรงของโรค ดังนั้น OPSI จึงได้ยึดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นหลักในการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายได้จริง โดย Joshua ยังบอกอีกว่าอนาคตที่แท้จริงเพียงอย่างเดียวคือปัจจุบัน 

โดยเครื่องมือที่สามารถใช้คาดการณ์อนาคตมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งการคาดการณ์ การคาดหวัง การสแกน การสร้างแบบจำลอง จนถึงการวางแผน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักวางแผนนโยบายใช้อยู่แล้ว ดังนั้นต้องดำเนินการทันทีเพื่อไม่ให้สายเกินไป

อย่ากลัวความผันผวนและความแปลกใหม่ในอนาคต 

อนาคตเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความแปลกใหม่ ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายที่เราจะพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้รวดเร็วกว่าอนาคต เพราะเป็นสิ่งที่เราประมาณการณ์กันยาก เช่น เทคโนโลยี AI จะเข้ามาแทนที่งานของมนุษย์ทุกคนภายในอีกกี่ปีข้างหน้า หรือการคาดการณ์แฟชั่นของผู้บริโภคอย่างแม่นยำ ดังนั้นสำหรับ OPSI แล้ว การมองการณ์ไกลเชิงกลยุทธ์ (Strategic Foresight) จึงคือวิสัยทัศน์และความสามารถในการรับรู้ ทำความเข้าใจ และดำเนินการกับอนาคตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดแรงกระเพื่อมกับสาธารณะ

คาดการณ์และลงมือทำจากการ ไม่รู้ 

OPSI พยายามส่งเสริมทัศนคติและความเข้าใจเกี่ยวกับอนาคตศึกษา ด้วยการค้นหาโอกาส ความรู้ และข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้องค์กรสามารถใช้กลยุทธ์การคาดการณ์เชิงอนาคตได้ดียิ่งขึ้น โดยเริ่มจากความไม่รู้จนกระทั่งทำให้บุคคลในองค์กรเข้าใจวิธีการทำงานได้อย่างแตกฉาน หลังจากได้ลงมือทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า

Joshua ทิ้งท้ายว่า การมีส่วนร่วมกับผู้คนถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของกระบวนการ เนื่องจากหลายครั้งความเชี่ยวชาญอาจมาจากแหล่งความรู้ที่เราไม่คาดคิด ดังนั้นต้องให้ความสำคัญกับความแตกต่างของสิ่งรอบตัว

งานของเรา
สำรวจการนำนวัตกรรมมาออกแบบนโยบาย
คลังความรู้
เรียนรู้ด้านนโยบายสาธารณะ
ร่วมกับเรา
ออกแบบนโยบายกับเรา
Back to Top