บทความ / นวัตกรรมเชิงนโยบาย
Published: 16.12.2021

ในงาน Policy Innovation Exchange เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2021 ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ กรรมการบริหารสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) มาพูดถึงความสำคัญของการสร้างสังคมแห่งนวัตกรรมขึ้นในประเทศไทย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและรับมือกับความท้าทายในอนาคต

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เป็นองค์การมหาชนด้านการบริการสาธารณะในสังกัดกระทรวงอุดมศึกษา วิจัย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และเป็นหน่วยงานหลักในการยกระดับระบบนวัตกรรมของชาติเพื่อนำไปสู่ค่านิยมที่ยั่งยืน 

ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้มีการวางเป้าหมายของการทำงานออกเป็น 3 จุดมุ่งหมาย ดังนี้ 

  • เพื่อเสริมสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติของประเทศไทย 
  • เพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรม 
  • เพื่อยกระดับทักษะและความสามารถทางด้านนวัตกรรมขององค์กร 

อีกทั้งทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติยังมองเห็นถึงโอกาสของการเปลี่ยนแปลงทางด้านนวัตกรรมต่าง ๆ ที่จะมาถึงในช่วงยุคทษวรรษนี้ ซึ่งได้ถูกจำแนกออกเป็น 4 ปัจจัย ดังนี้

  • เรื่องของโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรม 
  • เรื่องของรูปแบบธุรกิจที่มุ่งเน้นด้านนวัตกรรม 
  • เรื่องของการสร้างนวัตกรรมที่มีผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม 
  • เรื่องของการยกระดับและพัฒนานวัตกรรมสู่ระดับโลก 

จากการมองเห็นว่านวัตกรรมต่าง ๆ จะมีโอกาสในการเปลี่ยนแปลงและสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ในการพัฒนาทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติจึงได้คิดค้นและออกแบบนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมรูปแบบใหม่ขึ้นมา  

ความสำคัญของการวางนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมรูปแบบใหม่ 

ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้เห็นถึงปัญหาและต้องการสร้างแนวทางการแก้ไข รวมถึงต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบนโยบายด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะ และได้ชี้แจ้งถึงปัญหาและความท้าทายออกมาเป็น 3 รูปแบบ 

  • การเปลี่ยนแปลงทางด้านการแข่งขัน 
  • ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นและมุ่งเน้นไปที่ประชาชนที่อยู่ล่างสุดของโครงสร้างปิระมิด ตลอดจนชนชั้นกลางยุคใหม่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย 
  • ปัญหาภาวะโลกร้อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำท่วม หมอกควัน และภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถูกมองว่ากลายเป็นเรื่องปกติ 

จากปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้ง 3 ข้อดังกล่าว จึงทำให้ทางหน่วยงานมองเห็นความสำคัญของทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในรูปแบบดั้งเดิม ที่มุ่งเน้นเรื่องการใช้แบบจำลองเส้นตรงของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งถูกเรียกว่า “การวิจัยและพัฒนาทางด้านวิศวกรรมและนวัตกรรม” และนอกจากปัญหาที่ได้กล่าวถึงข้างต้น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและหน่วยงานการทำวิจัยทางด้านนวัตกรรมยังต้องประสบเจอกับปัญหาที่สร้างความลำบากที่ยืดเยื้อมากเป็นเวลาหลายปีหลายทศวรรษอีกมากถึง 7 ประการ   

ข้อที่ 1 ความสามารถของระดับองค์กร 

ทางหน่วยงานต้องเผชิญกับองค์กรใหม่  ระดับสตาร์ทอัพ และธุรกิจทางสังคมที่มีรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งองค์เหล่าเหล่านี้มีแนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่แตกต่างกันเช่นกัน 

ข้อที่ 2 สมรรถภาพของมนุษย์ของในวงการนวัตกรโดยเฉพาะ 

หากได้ลองศึกษาหรืออ่านวารสารทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม จะเห็นได้ว่าเอกสารเหล่านั้นจะเน้นถึงการพัฒนาและประยุกต์ใช้ในวงกว้างในจำนวนที่น้อย โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวารสารที่พูดถึงกระบวนการพัฒนาหรือการอธิบายการทำงานเป็นส่วนใหญ่  

ทางองค์กรจึงจำเป็นต้องทุ่มเทการผลักดันนโยบายทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อก้าวสู่การเป็นนวัตกร และสนับสนุนเหล่านวัตกรในระบบปัจจุบัน 

ข้อที่ 3 การใช้ประโยชน์ของโครงสร้างพื้นฐานทางด้านนวัตกรรม 

ทางหน่วยงานได้มีการใช้งบประมาณในการสร้างโครงการขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมทางกายภาพ เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น  แต่กลับพบว่ามีคนเข้ามาใช้บริการในจำนวนที่น้อยและไม่ได้เป็นอย่างที่ได้คาดการณ์ไว้ และได้มองเห็นถึงความสำคัญของแนวทางนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเข้ามาลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ 

ข้อที่ 4 การรวมศูนย์ของโอกาสทางด้านในหัวเมืองใหญ่เป็นหลัก 

เรื่องของเมืองนวัตกรรมหรือนวัตกรรมภูมิภาคกลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันโดยทั่ว ซึ่งทำให้เรื่องของการรวมศูนย์ของโอกาสทางด้านในหัวเมืองใหญ่เป็นหลักเป็นสิ่งที่น่าสนใจและต้องการสนับสนุนให้เกิดขึ้นจริงในอนาคต 

ข้อที่ 5 การฝ่าฝืนกฎระเบียบและระบบนวัตกรรมที่เป็นมิตร 

หลายประเทศทั่วโลกได้พยายามพัฒนากฎระเบียบและกฎเกณฑ์ใหม่ต่าง ๆ ที่สามารถสนับสนุนกับแนวคิดทางนวัตกรรมได้ แต่ก็มีบางประเทศที่ต้องเจอกับขีดจำกัดทางด้านนวัตกรรมของหน่วยภาครัฐ ที่มองเห็นต่างทางด้านความเป็นส่วนตัวขอบคนในสังคม ซึ่งการนำนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จะสามารถลดความเสี่ยงด้านกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ได้ 

ข้อที่ 6 หลักสากลทางด้านนวัตกรรมจากประเทศไทย 

หลากหลายประเทศได้วางประเทศของตัวเองให้เป็นประเทศแห่งนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งหากได้มีนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากการวิจัยของประเทศไทยได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างหลักสากลทางด้านระบบนวัตกรรมร่วมกันได้ก็คงเป็นสิ่งที่น่ายินดี 

ข้อที่ 7 การสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก 

การมีภูมิคุ้มกันและแนวทางการแก้ไชปัญหาหลัก ๆ 3 อย่างการเปลี่ยนแปลงทางด้านการแข่งขันปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม และปัญหาภาวะโลกร้อน 

ทางหน่วยงานต้องประสบพบเจอกับปัญหาที่เกิดขึ้นในหลากหลายรูปแบบ และได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างละเอียดและรอบคอบจากการวิจัยและศึกษา และได้พบว่าแนวทางนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมรูปแบบใหม่จะนำพาสู่อนาคตที่ยั่งยืนและมีคุณภาพ 

ความเชื่อมั่นที่มีต่อนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมรูปแบบใหม่ 

แนวคิดนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในอดีตหรือรูปแบบดั้งเดิมมีรากฐานแนวคิดที่มุ่งเน้นต่อการผลิต และการส่งออกทางด้านเทคโนโลยีชั้นสูงที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เป็นหลัก แต่เมื่อเวลาผ่านไปและมีการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น รูปแบบของนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่นั้นกำลังเปลี่ยนมุมมองและแนวคิดที่มุ่งเน้นต่อการพัฒนาด้านธุรกิจและผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น และเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่หลายประเทศพยายามพัฒนาโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ ตลอดจนถึงภาคองค์กรขนาดเล็กและใหญ่ 

และแนวทางนโยบายนี้ยังถูกคิดค้น พัฒนาและวิจัยผ่านระบบ Big Data, Artificial Intelligence และอีกหนึ่งสิ่งที่ได้ยินกันคุ้นหูกันทั่วโลกก็คือ Metaverse ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราล่วงรู้เกี่ยวกับนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมรูปแบบใหม่ได้อย่างแท้จริงในอนาคตอันใกล้ 

องค์ประกอบสำคัญของนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมรูปแบบใหม่ 

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้มุ่งเน้นถึงการพัฒนานโยบายนี้อย่างเคร่งครัดเพื่อที่จะต้องการให้เป็นหนึ่งในแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งภายในนโยบายได้มีการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ 5 ข้อ ได้แก่ 

ข้อที่ 1 เรื่องของวิวัฒนาการของตัวระบบ 

จากนโยบายพลังงานของไซต์งานที่ถูกสร้างรากฐานมาจากกระบวนการผลิตและการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม ที่ตอนนี้ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติกำลังเคลื่อนย้ายองค์กรต่าง ๆ นิคมอุตสาหกรรม และอุทยานวิทยาศาสตร์มาอยู่ในเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญต่อการใช้นโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการขยายตัวของความเป็นเมืองที่ภาครัฐและภาคเอกชนจะมีความเกี่ยวข้องกับประชาชนเพื่อนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

ข้อที่ 2 เรื่องของการพัฒนาโครงสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ 

ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้มุ่งเน้นเรื่องแบบจำลองและกระบวนการนวัตกรรมในรูปแบบการจำลองเชิงเส้นเป็นหลัก ตั้งแต่ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ไปจนถึงด้านนวัตกรรม ผ่านการวิจัยและการพัฒนาทางด้านวิศกรรมและนวัตกรรม แต่สิ่งนี้จะยังไม่ถูกนำมาใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันหรือในอนาคตอันใกล้ จึงทำให้มีนักคิดและนักวิชาการจำนวนมากเสนอวิธีนี้และทำให้เป็นรูปแบบของประชาธิปไตยของนวัตกรรมที่จะมีพื้นที่ในการประกอบกิจกรรมของปัจเจกชนที่เป็นอิสระจากภาครัฐมากยิ่งขึ้น 

ข้อที่ 3 ผู้เล่นคนสำคัญ 

ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ ธุรกิจวิสาหกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง หรือองค์กรระดับใหญ่ หรือบริษัทระดับโลก นวัตกรรมด้านธุรกิจจะมีความสำคัญต่อระบบนวัตกรรมมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ และจะไม่เน้นบริษัทหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งอีกต่อไป แต่จะสามารถให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงนวัตกรรมได้อย่างเท่าเทียม 

ข้อที่ 4 แรงขับเคลื่อน 

ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้มุ่งเน้นเรื่องของอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลก และห่วงโซ่อุปทานเป็นหลักที่ได้รับความคาดหวังและความมุ่งมั่นจากทางภาครัฐเพื่อประชาชนในสังคม 

ข้อที่ 5 กระบวนการทางความคิด 

กระบวนการทางความคิดเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อแนวคิดนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เคยเกิดขึ้นในอดีตให้เกิดการพัฒนาและเกิดความแตกต่างเป็นประโยชน์ต่อภาคสังคม 

ผลกระทบเชิงบวกจากปัจจุบันสู่โลกอนาคต 

จาก 5 องค์ประกอบสำคัญที่มีการพัฒนาและวิวัฒนาการทางด้านนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อนวัตกรรมด้านธุรกิจ, นวัตกรรมภาคพื้น และนวัตกรรมสังคม ที่ผู้คนจะสามารถเข้าถึงด้านนวัตกรรมได้มากยิ่งขึ้น และในส่วนของภาครัฐที่จำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทร่วมต่อทางด้านนวัตกรรม และมีวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่แตกต่างจากผู้กำหนดนโยบาย และใช้อำนาจที่มีอยู่ในการตัดสินใจและพัฒนาสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านของภาคสาธารณะ เพื่อทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น 

งานของเรา
สำรวจการนำนวัตกรรมมาออกแบบนโยบาย
คลังความรู้
เรียนรู้ด้านนโยบายสาธารณะ
ร่วมกับเรา
ออกแบบนโยบายกับเรา
Back to Top