บทความ / นวัตกรรมเชิงนโยบาย
Published: 16.12.2021

ในงาน Policy Innovation Exchange เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา Dwayne Carruthers ผู้จัดการฝ่ายการสื่อสารองค์กรประจำ Pulse Lab ของประเทศอินโดนีเซีย เมืองจาการ์ต้า ได้พูดถึงการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาผสมผสานการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

Pulse Lab คืออะไร?

Pulse Lab เป็นศูนย์นวัตกรรมด้านข้อมูล ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสหประชาชาติกับรัฐบาลอินโดนีเซีย ก่อตั้งในปี 2012 โดยเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจระดับโลกของสหประชาชาติในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการนวัตกรรมข้อมูล ที่มีจุดประสงค์เพื่อแนะนำ ส่งเสริม และวิเคราะห์เครื่องมือและเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น Big Data และ AI เพื่อรักษาและส่งเสริมสันติภาพ สิทธิมนุษยชน และความยุติธรรมในหลายประเทศทั่วโลก 

การสร้างระบบความคิดและนวัตกรรมด้วยวิธีการแบบผสม (Mixed Method) 

ทาง Pulse Lab มีแนวทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่ภายใต้ “วิธีการแบบผสม (Mixed Method)” ที่แบ่งแยกการทำงานออกเป็น 3 ทีม ได้แก่ ทีมพันธมิตรและผู้สนับสนุนทีมงานประชาสัมพันธ์ข้อมูล และทีมงานนวัตกรรมและระบบสังคม โดยวิธีการแบบผสมนั้นเป็นกระบวนการวิเคราะห์อย่างเข้นข้นและลึกซึ้ง เพื่อค้นพบองค์ประกอบหลักในการแก้ปัญหาที่ยากและซับซ้อน อีกทั้งยังเป็นแนวทางที่คล่องตัวและนำหลักการคาดการณ์มาใช้ได้มากยิ่งขึ้น 

 Pulse Lab ได้เริ่มใช้วิธีการแบบผสมอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2012-2013 ที่ต้องการทำหน้าที่เป็นตัวแทรกแซงและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม โดยเครื่องมือที่นำมาใช้ต้องเป็นเครื่องมือที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการนำมาใช้ และตอบสนองต่อความต้องการของทุกส่วน โดยเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาใช้จำเป็นต้องมีความยั่งยืนต่อผู้ใช้

กรอบการทำงานของวิธีการแบบผสม (Mixed Method) 

วิธีการแบบผสมจำเป็นต้องใช้กรอบการทำงานที่เรียกว่า “ผลกระทบทางสังคม” (Social Impact) เข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยสามารถประเมินผลกระทบได้จาก 3 พื้นที่ 1. พื้นที่ของปัญหา 2. พื้นที่ของเอกลักษณ์ และ 3. พื้นที่ของการแก้ไขปัญหา

วิธีการแบบผสมไม่ได้เป็นเพียงแนวคิดหรือไอเดียที่อยู่ในขั้นตอนเริ่มต้น แต่วิธีการนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง และ Pulse Lab ได้ใช้วิธีการนี้กับหลายเหตุการณ์แล้ว

  • เหตุการณ์หมอกควันไฟป่าHazeGazer 

ย้อนกลับในปี 2015 Pulse Lab ได้ดำเนินโครงการจัดการหมอกควันไฟป่า ด้วยการรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ผ่านภาพถ่ายดาวเทียม โซเชียลมีเดีย ตลอดจนแหล่งข่าวๆ ต่างๆ จากนั้นจึงหาจุดฮอตสปอตที่มีไฟพรุเพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติได้ทันเวลา นอกจากนี้ได้ออกแบบนโยบายการแก้ปัญหาเรื่องนี้ที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง 

ซึ่งทาง Pulse Lab ได้จัดทำแผนฉุกเฉินที่พัฒนามาจากการสื่อสารกับผู้คนในชุมชน เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

  • คุณภาพทางอากาศ

ในปี 2020 ทาง Pulse Lab ได้สร้างระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในชุมชม หรือที่เรียกว่า CAQM โดยติดตั้งเครื่องจับมลพิษทางอากาศทั่วทั้งหมู่บ้านในอินโดนีเซีย และได้ถ่ายทอดข้อมูลที่ได้จากเครื่องจับมลพิษทางอากาศให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชุน เนื่องจากพวกเขาคือคนที่จะได้ประโยชน์จากเครื่องมือนี้มากที่สุด ซึ่งหลักการนี้สะท้อนการวางมนุษย์เป็นศูนย์กลางของการแก้ไขปัญหา

  •  การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ในช่วงเริ่มต้นของการระบาด ทาง Pulse Lab ได้ติดต่อกับหน่วยงานหนึ่งในจังหวัดชวา ฝั่งตะวันตกของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 50 ล้านคน โดย Pulse Lab ได้ออกแบบและหาจุดฮอตสปอตที่อาจเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ภายในจังหวัด จากนั้นเลือกใช้การรวบรวบข้อมูลแบบดั้งเดิมและแบบใหม่เข้าด้วยกัน และมองหาช่องว่างของข้อมูลประเภทไหนที่จะสามารถเติมเต็มลงไปให้สมบูรณ์แบบมากที่สุด โดยยังเปิดให้ผู้คนสามารถโต้ตอบกับระบบที่ทางทีมงานได้จัดทำขึ้นมา ซึ่งนี่ทำให้พวกเขาได้รับข้อมูลข่าวสารจากผู้ที่อยู่ในจุดเกิดเหตุอย่างว่องไว ทำให้ช่วยเหลือได้ทัน

หาวิธีการแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบน้อย แต่เกิดคุณค่ามหาศาล

จากประสบการณ์ที่ Pulse Lab แก้ไขปัญหาต่างๆ ผ่านวิธีการแบบผสม สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้คือ การสร้างเครื่องมือสำหรับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลกระทบที่น้อย แต่สร้างคุณค่ากับผู้คนมหาศาล และเกิดความเปลี่ยนแปลงที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการกำหนดนโยบายที่ตรงจุด

งานของเรา
สำรวจการนำนวัตกรรมมาออกแบบนโยบาย
คลังความรู้
เรียนรู้ด้านนโยบายสาธารณะ
ร่วมกับเรา
ออกแบบนโยบายกับเรา
Back to Top