บทความ / นวัตกรรมเชิงนโยบาย
Published: 23.04.2022

Teo Lintou หัวหน้าด้านการออกแบบนวัตกรรมประจำ Innovation Lab ของสิงคโปร์ชี้ว่า ความท้าทายหลักของสิงคโปร์ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาคือ การขาดแคลนด้านทรัพยากรทั้งในด้านกำลังคนและงบประมาณ โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคเศรษฐกิจสิงคโปร์ประสบปัญหาการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยในปี 2019 สิงคโปร์มีประชากร 14.4% จากประชากร 3.9 ล้านคนที่อายุ 65 ปีหรือมากกว่า ภายในปี 2023 คาดว่าตัวเลขจะพุ่งขึ้นไปถึง 25 % 

“เราจะทำสิ่งที่แตกต่าง ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นได้อย่างไร? เราจะทำน้อยลงแต่ได้ผลลัพธ์มากขึ้นได้อย่างไร?” 

สิงคโปร์มุ่งหวังที่จะเป็นผู้นำของโลกในด้านการให้บริการและนวัตกรรม จึงต้องการจะเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่ลดขนาดลงและทำงานอย่างว่องไว ที่ขับเคลื่อนโดยผู้นำและเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะและรู้จักปรับตัว

ดังนั้น จึงมีการนำนวัตกรรมมาใช้กับบริการสาธารณะที่ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยทีม Innovation Lab ซึ่งเป็นทีมพลิกโฉมภาคเอกชน ที่มีภารกิจพลิกโฉมและสร้างนวัตกรรมการให้บริการสาธารณะของสิงคโปร์ได้ร่วมปฎิบัติการเปลี่ยนแปลงใน 3 ระดับ คือ 

  • WOG เปลี่ยนแปลงการทำงานข้ามหน่วยงาน และควบรวมบริการสาธารณะหลายอย่างมาอยู่ในที่เดียวกัน
  • เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของหน่วยงาน และการบริหารจัดการ
  • เปลี่ยนแปลงระดับปัจเจกบุคคล เพื่อร่วมพลิกโฉมการให้บริการสาธารณะ

Innovation lab ร่วมสร้างนวัตกรรมการให้บริการสาธารณะ

Innovation lab มี 4 บทบาท คือ 

  1. โค้ช: เป็นวิทยากรช่วยวางกรอบการทำงานกับหน่วยงานต่างๆ ทดลองและประเมินผล
  2. ผู้เรียกประชุม: ดึงคนจากภาคส่วนต่างๆ เข้ามาเป็นคณะทำงาน ริเริ่มให้มีผู้อำนวยการนวัตกรรมของคณะทำงาน คณะทำงานของกลุ่มผู้ร้องเรียน และเครือข่ายผู้ร้องเรียน
  3. นักพัฒนา: พัฒนายุทธศาสตร์สร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม 
  4. ผู้นำทางความคิด: ริเริ่มและนำนวัตกรรมไปปรับใช้ในบริบทของหน่วยงานบริการสาธารณะ

แนวคิดเพื่อพลิกโฉมการให้บริการสาธารณะด้วยนวัตกรรม

แนวคิดนวัตกรรมที่สำคัญ 3 ประการ คือ 

  1. การทำความเข้าใจปัญหา (Empathise) สร้างความเข้าใจกับผู้ใช้บริการทั้งหมดเพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริง
  2. การสร้างความร่วมมือ (Collaborate) ร่วมมือกับหน่วยงานและผู้ใช้บริการทุกภาคส่วน เพื่อสร้างผลลัพธ์ร่วมกัน 
  3. การทดลอง (Experiment) ร่วมกันทดลองแนวคิดใหม่ๆ สร้างหลักฐานยืนยัน 

วิสัยทัศน์คือการให้บริการสาธารณะแบบรวมศูนย์ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

กรณีศึกษา: โพลีคลินิกยุคใหม่ NGP (Next Generation Polyclinic)

โพลีคลินิกในสิงคโปร์เป็นโครงการให้บริการสุขภาพขั้นพื้นฐานกับประชาชน วิสัยทัศน์ของโครงการคือการพลิกโฉมระบบบริการสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น และจะใช้โครงการโพลิคลินิกนี้วางแผนเส้นทางการให้บริการสุขภาพกับประชาชนแบบครบวงจร ตั้งแต่การป้องกันโรค ไปจนถึงการให้บริการคนไข้ที่โพลิคลินิก ไปจนถึงการบริหารจัดการดูแลคนไข้โรคเรื้อรังที่บ้านผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล (E-service)

โครงการนี้เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้ความสำคัญกับคนไข้เป็นหลัก ด้วยภาระโรคเรื้อรังและจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้บริการสุขภาพขั้นต้นจึงเพิ่มสูงขึ้นเป็นทวีคูณ ปัจจุบันเกือบครึ่งของผู้ป่วยนอกโรคเรื้อรังใช้บริการของโพลีคลินิก การให้บริการแบบบูรณาการและการดึงบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มอื่นๆ มาทำงานด้วยกัน ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จและช่วยลดภาระในการให้บริการด้านสาธารณสุขลงได้

 

งานของเรา
สำรวจการนำนวัตกรรมมาออกแบบนโยบาย
คลังความรู้
เรียนรู้ด้านนโยบายสาธารณะ
ร่วมกับเรา
ออกแบบนโยบายกับเรา
Back to Top